หน่วยที่ 5  เกจหน้าปัด
1. ประเภทของเกจหน้าปัด
          เกจหน้าปัด (Dial gauge) ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมมีหลายชนิดแต่ละชนิดถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละแบบที่แตก
ต่างกันดังนี้
          1.1 เกจหน้าปัดมาตรฐาน (Standard Dial Gauges) เป็นเกจหน้าปัดที่นิยมใช้มากที่สุด เหมาะสำหรับตรวจวัดชิ้นงานที่มีการเคลื่อนที่เนื่องจากเกจหน้าปัดประเภทนี้มีหัววัดขนาดเล็กที่สามารถเคลื่อนตัวได้และง่ายต่อการปรับ
มุมอย่างอิสระ ใช้วัดความกลมของเพลา  ใช้วัดความเรียบของพื้นผิวชิ้นส่วน โดยจะแสดงค่าจากเข็มที่หน้าปัดคล้ายเข็มนาฬิกา

https://1.bp.blogspot.com/-nZFQfKcKmVQ/Xw1DhNCCAXI/AAAAAAAAJ8U/1EM97Hrt9igto6cqjb4ZVXrDTVghAX6ZgCLcBGAsYHQ/s400/m5.1%2B%25282%2529.jpg

ภาพ 5.1  เกจหน้าปัดมาตรฐาน

          1.2 เกจหน้าปัดแบบก้ามปู (Dial caliper gauge) เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ หรือร่องต่างๆ
รวมทั้งสามารถนำไปวัดความเว้าของพื้นผิวชิ้นงานได้

 https://1.bp.blogspot.com/-lSDWE-jkUc0/Xw1Dm9rhLDI/AAAAAAAAJ8Y/k223armKDQcTts8wsPdLu_jrYVHXsrX-wCLcBGAsYHQ/s400/m5.2%2B%25282%2529.jpg
ภาพ 5.2  เกจหน้าปัดแบบก้ามปู

          1.3 เกจหน้าปัดวัดความหนา (Dial thickness gauge) ใช้ในงานที่ต้องการวัดความหนาของชิ้นงาน
 https://1.bp.blogspot.com/-UDCuza85D9E/Xw1DrZroZYI/AAAAAAAAJ8c/flgnkPsneGojYf_gi50xHsq-PkSksS8rQCLcBGAsYHQ/s400/m5.3.jpg
ภาพ 5.3  เกจหน้าปัดวัดความหนา

          1.4 เกจวัดเชิงเส้น (Linear gauge) เหมาะกับงานที่มีแรงสั่นสะเทือนมากในการวัด เช่น ชิ้นส่วนเครื่องจักรอัตโนมัติ
ซึ่งทนทานต่อแรงกระแทกของสิ่งเร้าภายนอกได้ดี มีการแสดงผลที่อ่านได้เป็นกราฟเชิงเส้น

 https://1.bp.blogspot.com/-lUj1bu4YFoM/Xw1DvxMpxII/AAAAAAAAJ8g/ZnurCvdQEx0eDEgP2OrPwz-hAPxvqyG2wCLcBGAsYHQ/s400/m5.4.png
ภาพ 5.4  เกจวัดเชิงเส้น

2. ส่วนประกอบของเกจหน้าปัด
เกจหน้าปัดมีหลายชนิดแต่ชนิดที่นิยมใช้มากที่สุดและใช้มากที่สุดในงานช่างยนต์คือ เกจหน้าปัดมาตรฐาน (Standard Dial Gauges)
ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้

https://1.bp.blogspot.com/-ZBXjab_saik/Xw1D0uBzANI/AAAAAAAAJ8k/YG6_s1IZY5gC9ons0VaeOcyDNMjdXYp9wCLcBGAsYHQ/s640/m5.5.png

ภาพ 5.5  ส่วนประกอบของเกจหน้าปัด

1.  หัววัด มีหน้าที่สัมผัสกับชิ้นงานที่ต้องการวัดหรือตรวจสอบ
2.  แกนเลื่อน มีหน้าที่จับยึดหัววัด เมื่อหัววัดถูกดันเลื่อนขึ้นลงสัมผัสผิวของชิ้นงาน
3.  แผ่นสเกล มีหน้าที่บอกค่าความละเอียด โดยแบ่งออกเป็น 100 ช่อง 1 ช่องมีค่าเท่ากับ 0.01 mm
4.   เข็มยาว มีหน้าที่บอกค่าที่วัดได้จากการสัมผัสชิ้นงานของหัววัด
5.   เข็มวัดรอบ มีหน้าที่บอกจำนวนรอบของเข็มโดย 1 รอบมีค่าเท่ากับ 1 mm
6.  ขีดพิกัด มีหน้าที่กำหนดค่าของพิกัดหรือคลาดเคลื่อนจากค่าที่กำหนด
7.  สกรูล็อก มีหน้าที่ล็อกตำแหน่งสเกลของหน้าปัด
8.  กรอบนอก มีหน้าที่หมุนปรับให้ตรงขีด 0 ของเข็มยาวบนแผ่นสเกล เพื่อกำหนดจุดเริ่มต้นในการวัด
 9.  กระจกหน้าปัด มีหน้าที่ป้องกันฝุ่นหรือสิ่งสกปรกเข้าไปทำความเสียหายในเกจหน้าปัด
10. ตัวเรือน มีหน้าที่ครอบเพื่อป้องกันอุปกรณ์กลไกภายในไม่ให้เกิดความเสียหาย
11. ก้านสำหรับจับยึด มีหน้าที่จับยึดกับแท่นยึดเกจหน้าปัดในการใช้งานหรือตรวจวัดชิ้นงานเกจหน้าปัดต้องใช้ร่วม
กับอุปกรณ์ประกอบได้แก่ แท่นยึดเกจหน้าปัด (Stand) ซึ่งแท่นยึดเกจหน้าปัดจะทำให้การตรวจวัดมีความมั่นคงและ
แม่นยำในการวัดมากขึ้นโดยแท่นยึดมีลักษณะดังนี้

 https://1.bp.blogspot.com/-5A5eK6bpxhI/Xw1D511xyNI/AAAAAAAAJ8o/t86KJpeAF3YqFvVruBUE3FGO7f1kVFNJgCLcBGAsYHQ/s400/m5.6%2B%25282%2529.jpg
ภาพ 5.6  แท่นยึดเกจหน้าปัด (Stand)

3. หน้าที่ของเกจหน้าปัด
            เกจหน้าปัด (Dial gauge)         เป็นเครื่องมือวัดละเอียดสำหรับใช้วัด เปรียบเทียบขนาดและตรวจสอบขนาด
รูปร่าง ตำแหน่ง สภาพผิวชิ้นงาน  ค่าความเที่ยงตรงต่างๆ โดยในงานช่างยนต์ส่วนใหญ่ใช้สำหรับตรวจสอบชิ้นส่วน
เครื่องยนต์ดังนี้
             3.1 ใช้ตรวจสอบศูนย์ของเพลาตรวจสอบความกลมหรือความเรียวของเพลา เช่นตรวจสอบความคดของเพลา
                   ข้อเหวี่ยง  เพลาราวลิ้น  เพลากลาง และเพลาลูกเบี้ยว
            3.2 ใช้ตรวจสอบความบิดเบี้ยวของผิวชิ้นงาน เช่น ผิวหน้าเฟืองเพลาลูกเบี้ยว  ผิวหน้าล้อช่วยแรง ผิวหน้าเสื้อสูบ และผิวหน้าฝาสูบ
            3.3 ตรวจสอบระยะฟรีฟันเฟือง เช่น ตรวจระยะฟรีเฟืองเพลาลูกเบี้ยว  เฟืองเกียร์ เฟืองท้าย
            3.4 ตรวจสอบระยะรุนต่างๆ เช่น ระยะรุนเพลาข้อเหวี่ยง ระยะรุนก้านสูบ  ระยะรุนเพลาราวลิ้น

4. การใช้เกจหน้าปัด
            4.1 เตรียมเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์
            4.2 ประกอบเกจหน้าปัดเข้ากับแท่นยึดเกจหน้าปัด
            4.3 ห้ามวัดชิ้นงานขณะที่ยังร้อน
            4.4 ในการใช้งานต้องระวังอย่าให้แกนเลื่อนและหัววัดกระแทกกับชิ้นงานเพราะจะมีผลต่อกลไกภายในเกจหน้าปัด ควรเลื่อน
                  หัววัดให้สัมผัสชิ้นงานช้าๆ ด้วยความระมัดระวัง
            4.5 กรณีตรวจวัดความคดของเพลา  ให้วางชิ้นงานบนแท่นวีบล็อก (V-block) สำหรับตรวจวัดและจัดตำแหน่งแท่นยึดเกจ
                 หน้าปัดพร้อมเกจหน้าปัดให้อยู่ในตำแหน่งที่จะวัด
            4.6 เมื่อหาตำแหน่งที่จะตรวจวัดได้แล้ว ให้ปรับปุ่มที่แท่นยึดเกจหน้าปัดไปตำแหน่ง ON เพื่อให้แม่เหล็กยึดกับพื้นโต๊ะระดับ
                  หรือพื้นโต๊ะปฏิบัติงาน
            4.7 ปรับเกจหน้าปัดให้หัววัดสัมผัสกับชิ้นงาน จากนั้นปรับกรอบนอกของเกจหน้าปัดให้ตรงเลข 0
            4.8 หมุนเพลาให้เคลื่อนที่ช้าๆ จำนวน 1 รอบสังเกตเข็มที่หน้าปัดชี้ไปตำแหน่งใดสูงสุด จากนั้นให้หมุนต่อไปยังตำแหน่งที่เข็ม
                  ขึ้นสูงสุด และหยุดอ่านค่าที่หน้าปัดบันทึกผล
            4.9 ปรับปุ่มล็อกที่แท่นยึดเกจหน้าปัดไปตำแหน่ง OFF เพื่อให้แม่เหล็กหยุดทำงานจากนั้นเลื่อนแท่นยึดเกจหน้าปัดออกจาก
                  ชิ้นงานที่ทำการตรวจวัด
            4.10 ถอดแยกเกจหน้าปัดออกจากแท่นยึดเกจหน้าปัด  ทำความสะอาดเกจหน้าปัด แท่นยึดเกจหน้าปัด
            4.11 จัดเก็บเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์

https://1.bp.blogspot.com/-ADU3S_x4hGs/Xw1D_dHtUZI/AAAAAAAAJ8w/xCRDbPLnRU0_z0G6J6AF6sHM0v0b_OkcwCLcBGAsYHQ/s640/m5.7.png
ภาพ 5.7  การใช้งานเกจหน้าปัด

5. การบำรุงรักษาเกจหน้าปัด
5.1 ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดเกจหน้าปัด  แท่นยึดเกจหน้าปัด
5.2 ทำความสะอาดที่แกนเลื่อนอย่าให้มีเศษสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตัน หากพบว่ามีสิ่งสกปรกอุดตันทำให้แกนเลื่อนเคลื่อนที่ฝืด ให้ตั้ง
เกจหน้าปัดในแนวดิ่งจุ่มแกนเลื่อนในน้ำมันเบนซิน จากนั้นดันแกนเลื่อนขึ้นลงให้สิ่งสกปรกหลุดออก ระวังอย่าให้น้ำมันโดนหน้าปัด
5.3 ชโลมน้ำมันหล่อลื่นที่จุดหมุนแท่นยึดเกจหน้าปัด
5.4 จัดเก็บเกจหน้าปัดแยกใส่กล่อง ห้ามเก็บเกจหน้าปัดปะปนกับเครื่องมือชนิดอื่น
5.5 ห้ามกดแกนเลื่อนเล่นและขณะเก็บเข้ากล่องแกนเลื่อนต้องเป็นอิสระห้ามกดเข็มค้างไว้
5.6 ระวังอย่าให้เกจหน้าปัดมีรอย อย่าให้ตกพื้นเด็ดขาด
https://1.bp.blogspot.com/-rOSWwXxsTCw/Xw1EFRCTtpI/AAAAAAAAJ84/kHZfTFHpQVk5Esn9ATcO-kkAxeO_oMwcgCLcBGAsYHQ/s640/m5.8.png

ภาพ 5.8  สเกลบนเกจหน้าปัด
   
     หลักการอ่านค่าให้อ่านจากวงเล็กซึ่งเป็นจำนวนเต็มก่อน จากนั้นจึงอ่านสเกลวงใหญ่ โดยสังเกตทิศทางการหมุนของเข็ม ถ้าหมุนตามเข็มนาฬิกาให้อ่านที่เลขตัวใหญ่ ถ้าหมุนทวนเข็มนาฬิกาให้ด้านที่เลขตัวเล็กภาพ 5.9 ตัวอย่างการอ่านค่าเกจหน้าปัด  
ตัวอย่าง 5.9 (ก) อ่านค่าวงเล็กได้เท่ากับ 0 วงใหญ่หมุนทวนเข็มนาฬิกาอ่านค่าที่เลขตัวเล็กตรงกับขีดที่ 17 มีค่า
(17x0.01 mm = 0.17 mm) นำค่าจากวงเล็กรวมกับค่าจากวงใหญ่ 

https://1.bp.blogspot.com/-QosqoEZwPl4/Xw1EMKPJgBI/AAAAAAAAJ88/JDoUMneh98kMqTXEA9lICeWRPgFOt65RQCLcBGAsYHQ/s640/m5.9.png
ภาพ 5.9  ตัวอย่างการอ่านค่าเกจหน้าปัด
      ดังนั้นจะอ่านค่าได้เท่ากับ 0.17 mm ตัวอย่าง 5.9 (ข) อ่านค่าวงเล็กได้เท่ากับ 2 mm วงใหญ่เข็มหมุนตามเข็มนาฬิกาอ่านค่าที่เลขตัวใหญ่ตรงกับขีดที่ 17 มีค่าเท่ากับ 0.17 mm
 (17x0.01 mm = 0.17 mm) นำค่าจากวงเล็กรวมกับค่าจากวงใหญ่เพราะฉะนั้นอ่านค่าได้เท่ากับ 2.17 mm 

hit counter